วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

บทที่ 9

........ภาพเคลื่อนไหว หมายถึง ภาพกราฟฟิกที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงขั้นตอนหรือปรากฏ การณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การเคลื่อนที่ของอะตอมในโมเลกุล หรือการเคลื่อนที่ของลูกสูบของเครื่องยนต์ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสร้างสรรค์จินตนาการให้เกิดแรงจูงใจจากผู้ชม การผลิตภาพเคลื่อนไหวจะต้องใช้โปรแกรมที่มีคุณสมบัติเฉพาะทางซึ่งอาจมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่บ้างเกี่ยวกับขนาดของไฟล์ที่ต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมากกว่าภาพนิ่งหลายเท่านั่นเอง
....1 ประโยชน์
- ง่ายต่อการใช้งาน
- สามารถได้ถึงความรู้สึก
- สร้างเสริมประสบการณ์
- เพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้
- เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น
- คุ้มค่าในการลงทุน
- เพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุน
.....ภาพเคลื่อนไหว คือ ลำดับของภาพนิ่งซึ่งถูกนำมาแสดงผลติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง โดยทั่วไปภาพยนตร์มีอัตราการแสดงผล (Frame Rate) ที่ 24 ภาพต่อวินาที
.....ในปัจจุบันข้อมูลที่จัดเก็บเป็นภาพเคลื่อนไหวมี 2 รูปแบบ คือ แบบอนาลอก และ แบบดิจิตอล ซึ่งข้อมูลสองรูปแบบดังกล่าว เกิดจากกระบวนการสร้างและจัดเก็บที่แตกต่างกัน ข้อมูลแบบดิจิตอลจะได้รับความนิยมมากกว่า เนื่องจากคุณภาพที่สม่ำเสมอตลอดการใช้งาน ต่างกับข้อมูลแบบอนาลอกซึ่งคุณภาพจะสูญเสียไปเมื่อใช้งานเป็นเวลานาน ดังนั้นในปัจจุบันข้อมูลแบบอนาลอกจึงมักถูกแปลงเป็นข้อมูลแบบดิจิตอล เพื่อสร้างภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบดิจิตอลซึ่งมีคุณภาพที่สม่ำเสมอกว่าการนำเข้าข้อมูลภาพเคลื่อนไหวสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลภาพเคลื่อนไหวอาจถูกสร้างขึ้นจากหลายแหล่ง ซึ่งมีทั้งแหล่งที่สามารถสร้างข้อมูลภาพเคลื่อนไหวแบบดิจิตอลได้โดยตรง หรือแหล่งซึ่งสามารถสร้างข้อมูลภาพเคลื่อนไหวแบบอนาลอก ซึ่งข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นจะต้องถูกนำมาแปลงให้เป็นรูปแบบดิจิตอลก่อน จึงจะสามารถนำมาใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ได้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์แบบดิจิตอล แหล่งที่สามารถสร้างข้อมูลภาพเคลื่อนไหวแบบดิจิตอลได้โดยตรง ได้แก่ กล้องถ่ายภาพวีดีโอแบบดิจิตอล (Digital Video Camera) กล้องสำหรับการประชุมผ่านระบบวีดีโอ (Videoconferencing Camera) เป็นต้น
...แหล่งที่สามารถสร้างข้อมูลภาพเคลื่อนไหวแบบอนาลอก ได้แก่ กล้องถ่ายภาพวีดีโอแบบอนาลอก (Analog Video Camera) เป็นต้น การนำเข้าข้อมูลภาพเคลื่อนไหวจากแหล่งที่สามารถสร้างข้อมูลแบบดิจิตอลได้โดยตรงมีความสะดวกมาก เนื่องจากข้อมูลมีรูปแบบเป็นดิจิตอล ดังนั้นจึงสามารถส่งผ่านข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยตรงผ่านทางช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ ในระบบ เช่น IEEE1394 (FireWire) หรือ USB เป็นต้น
....การนำเข้าข้อมูลภาพเคลื่อนไหวจากแหล่งที่สร้างข้อมูลแบบอนาลอกสู่ระบบคอมพิวเตอร์ จำเป็นที่จะต้องมีการแปลงข้อมูลอนาลอกดังกล่าวให้เป็นข้อมูลแบบดิจิตอลเสียก่อน โดยทั่วไปเมื่อต้องการนำเข้าข้อมูลจากกล้องถ่ายภาพวีดีโอแบบอนาลอก จะต้องทำการส่งผ่านข้อมูลผ่านอุปกรณ์แปลงสัญญาณที่เรียกว่า อุปกรณ์จับภาพวีดีโอ (Video Capture Device) อุปกรณ์นี้จะทำการแปลงข้อมูลแบบอนาลอกที่ได้รับจากกล้องถ่ายภาพวีดีโอแบบอนาลอกให้กลายเป็นข้อมูลแบบดิจิตอล และส่งผ่านข้อมูลดังกล่าวไปยังระบบคอมพิวเตอร์ต่อไป
....การตัดต่อภาพเคลื่อนไหวในระบบคอมพิวเตอร์ข้อมูลภาพเคลื่อนไหวที่ถูกนำเข้ามาในระบบคอมพิวเตอร์ อาจจะไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอ เช่น อาจขาดเสียงประกอบที่น่าสนใจ หรือ มีภาพที่ไม่ต้องการอยู่ในภาพเคลื่อนไหวนั้น ดังนั้นเมื่อนำเข้าข้อมูลภาพเคลื่อนไหวสู่ระบบคอมพิวเตอร์แล้ว ขั้นตอนที่สำคัญในการสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบดิจิตอลที่สมบูรณ์ คือ การตัดต่อภาพเคลื่อนไหว โดยทั่วไปมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ต่าง ๆ มากมายที่มีความสามารถในการตัดต่อภาพเคลื่อนไหว ได้แก่ Microsoft Windows Movie Maker iMovie และ Final Cut Pro เป็นต้น
......ซอฟต์แวร์ดังกล่าวมีความสามารถ โดยสังเขป ดังนี้
-สามารถทำการตัดส่วนหนึ่งส่วนใดของภาพเคลื่อนไหวที่ไม่ต้องการออกไปได้
-สามารถทำการตัดส่วนหนึ่งส่วนใดของภาพเคลื่อนไหวเพื่อนำไปแทรกยังส่วนอื่น ๆ ได้
-สามารถขยาย หรือย่อ ขนาดของภาพเคลื่อนไหวได้
-สามารถเพิ่ม หรือลบ เสียงประกอบในส่วนหนึ่งส่วนใดของภาพเคลื่อนไหวได้
-สามารถสร้างเทคนิคพิเศษเมื่อมีการเปลี่ยนฉากในภาพเคลื่อนไหวได้
......การบีบอัดข้อมูลภาพเคลื่อนไหว และรูปแบบในการจัดเก็บลงแฟ้มข้อมูลเนื่องจากข้อมูลภาพเคลื่อนไหวประกอบไปด้วย ภาพแบบ Raster Graphic เป็นจำนวนมาก ดังนั้นการจัดเก็บภาพเคลื่อนไหวลงในระบบคอมพิวเตอร์ จำเป็นจะต้องมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลเป็นจำนวนมาก ซึ่งสื่อแบบเคลื่อนย้ายได้ในปัจจุบันมีความจุไม่เพียงพอแก่การจัดเก็บข้อมูลภาพเคลื่อนไหว เช่น คอมแพคดิสก์มีความจุต่อแผ่นเพียง 700 MB แผ่น DVD มีความจุต่อแผ่นเพียง 4.7-21 GB เท่านั้น ดังนั้นการบีบอัดข้อมูลจึงเข้ามามีส่วนสำคัญในการจัดเก็บข้อมูลลงสื่อชนิดต่าง ๆ การบีบอัดข้อมูลภาพเคลื่อนไหวนั้นมีความแตกต่างกับการบีบอัดข้อมูลภาพนิ่งมาก เนื่องจากการนำเทคนิคการบีบอัดข้อมูลของภาพนิ่ง มาประยุกต์ใช้กับภาพนิ่งแต่ละลำดับซึ่งเป็นส่วนประกอบของภาพเคลื่อนไหวนั้น ไม่สามารถทำการบีบอัดข้อมูลได้มากพอที่จะจัดเก็บข้อมูลลงในสื่อบันทึกข้อมูลชนิดต่าง ๆ ได้ ดังนั้นเทคนิคการบีบอัดข้อมูลที่ใช้กับภาพเคลื่อนไหว จึงมีการนำความสัมพันธ์ของภาพนิ่งแต่ละลำดับซึ่งเป็นส่วนประกอบของภาพเคลื่อนไหวมาใช้ในการบีบอัดข้อมูลด้วย หลักการคือ ส่วนประกอบในภาพส่วนใดที่ไม่มีความเปลี่ยนแปลงในภาพนิ่งแต่ละลำดับ ส่วนประกอบในภาพส่วนนั้นจะถูกจัดเก็บลงในสื่อบันทึกข้อมูลเพียงครั้งเดียว รูปแบบการบีบอัดข้อมูลและรูปแบบในการจัดเก็บข้อมูลลงในแฟ้มข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน และได้รับความนิยมมีดังนี้
....AVI (Audio Video Interface)
– เป็นรูปแบบมาตรฐานบนระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows เมื่อผู้ใช้ต้องการแสดงภาพเคลื่อนไหวซึ่งถูกจัดเก็บในรูปแบบ AVI สามารถทำได้โดยการใช้ซอฟต์แวร์ Microsoft Media Player แฟ้มข้อมูลรูปแบบนี้จะมีส่วนต่อขยายของแฟ้มข้อมูลเป็น .avi
Quicktime Movie
– เป็นรูปแบบมาตรฐานบนระบบคอมพิวเตอร์จากบริษัท Apple Computer เมื่อผู้ใช้ต้องการแสดงภาพเคลื่อนไหวซึ่งถูกจัดเก็บในรูปแบบ Quicktime Movie สามารถทำได้โดยการใช้ซอฟต์แวร์ Quicktime Player ซึ่งทำงานบนระบบปฏิบัติการได้หลายระบบ เช่น Microsoft Windows Unix MacOS แฟ้มข้อมูลรูปแบบนี้จะมีส่วนต่อขยายของแฟ้มข้อมูลเป็น .movMPEG (Moving Picture Experts Group)
– เป็นรูปแบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปบนระบบปฏิบัติการต่าง ๆ และนิยมใช้กับเครื่องเล่นภาพเคลื่อนไหว เพื่อการรับชมภาพเคลื่อนไหวโดยตรงกับเครื่องรับโทรทัศน์ เมื่อต้องการรับชมภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบนี้ สามารถทำได้โดยใช้ซอฟต์แวร์ Microsoft Media Player หรือ Quicktime Player บนระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าต้องการรับชมภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบนี้ผ่านทางเครื่องเล่นภาพเคลื่อนไหว ภาพเคลื่อนไหวดังกล่าวจะอยู่ในรูปแบบของ VideoCD และ DVD โดยมาตรฐานที่ใช้ในการบีบอัดและจัดเก็บข้อมูลคือ MPEG-1 และ MPEG-2 ตามลำดับ แฟ้มข้อมูลรูปแบบนี้จะมีส่วนต่อขยายของแฟ้มข้อมูลเป็น .mpg หรือ .mpegRealMedia
– เป็นรูปแบบในการรับชมภาพเคลื่อนไหวผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็น Streaming คือ สามารถควบคุมการเล่นภาพได้ เช่น การเล่นภาพ การเดินหน้า การถอยหลัง การหยุดเล่นชั่วคราว ซึ่งซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรับชมภาพเคลื่อนไหวรูปแบบนี้ คือ ซอฟต์แวร์ Real Player ซึ่งทำงานบนระบบปฏิบัติการได้หลายระบบ เช่น Microsoft Windows Unix MacOS แฟ้มข้อมูลรูปแบบนี้จะมีส่วนต่อขยายของแฟ้มข้อมูลเป็น .rmASF
- เป็นรูปแบบในการรับชมภาพเคลื่อนไหวผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตและมีคุณลักษณะเป็น Streaming เช่นกัน ซึ่งซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการรับชมภาพเคลื่อนไหวรูปแบบนี้ คือ ซอฟต์แวร์ Microsoft Media Player ซึ่งทำงานบนระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows แฟ้มข้อมูลรูปแบบนี้จะมีส่วนต่อขยายของแฟ้มข้อมูลเป็น .asf

ไม่มีความคิดเห็น: